วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ไพ่ผ่องไทย หรือ ไพ่ตอง

ไพ่ผ่องไทย หรือ ไพ่ตอง เป็นการพนันที่คนไทยนิยมเล่นมาตั้งแต่อดีต โดยไพ่ที่ใช้ในการเล่นจะแตกต่างจากไพ่ประเภทอื่นๆ คือจะเป็นไพ่เฉพาะซึ่งสำหรับหนึ่งประกอบด้วยไพ่ 10 ชุดคือ เอี่ยวเล็ก (เอี่ยวเกือก เอี่ยวชี เอี่ยวยาว) เอี่ยวใหญ่ (เอี่ยวพญา เอี่ยวนาง เอี่ยวหนู) สอง (สองคณฑ์ สองตาโต สององคต) สาม (สามคณฑ์ สามตาโต สามนก) สี่ (สี่คณฑ์ สี่มะเขือ สี่นม) ห้า (ห้าคณฑ์ ห้าแตงโม ห้านก) หก (หกคณฑ์ หกตาโต หกละเอียด)เจ็ด (เจ็ดคณฑ์ เจ็ดพัด เจ็ดนก) แปด (แปดคณฑ์ แปดตาโต แปดละเอียด) เก้า (เก้าคณฑ์ เก้าจัน เก้าแดง) โดยแต่ละชุด จะมีไพ่ประเภทละ 4 ใบ รวมชุดหนึ่งจะมีทั้งสิ้น 12 ใบ และทั้งสำรับจะประกอบด้วยไพ่ทั้งสิ้น 120 ใบ

ไพ่แต่ละชุดนั้น จะมีลักษณะที่แตกต่างกันตรงหัวไพ่ โดยไพ่ตระกูลเอี่ยวเกือบทุกตัวจะมีรอยเว้าตรงปลายขวาของไพ่ ยกเว้นเอี่ยวพญา ซึ่งจะไม่มีรอยเว้า แต่จะมีรูปเป็นแท่งสีขาวมีลวดลายและมีการประทับตราสีแดงไว้ตรงกลางเช่นเดียวกับเอี่ยวนางและเก้าแดง

ไพ่ตระกูลสองจะมีปุ่มรีอยู่ทางมุมขวาบน

ไม่ตระกูลสามจะมีหัวแหลมอยู่ทางขวามุมบน

ไพ่ตระกูลสี่จะมีปุ่มครึ่งวงกลมตรงกลาง

ไพ่ตระกูลห้าจะมีรอยเว้าเข้าในสองรอยตรงหัวไพ่

ไพ่ตระกูลหกจะมีเส้นขาวสองเส้นอยู่ทางขวามุมบน

ไพ่ตระกูลเจ็ดจะมีรอยหยัก 5 รอยบนหัว

ไพ่ตระกูลแปดจะมีรอยเว้าเข้าในหนึ่งรอยตรงกลางหัวไพ่

ไพ่ตระกูลเก้าจะมีเส้นขาวหนึ่งเส้นอยู่ทางขวามุมบน

เอี่ยวหนู และไพ่คณฑ์ทั้งหลายจะเป็นตัวเลขไทย

[แก้] กติกา

กติกาการเล่นคือจะมีผู้เล่น 6-7 คน โดยจะทำการเล่นบนเสื่อ แต่ละคนจะมีไม้เขี่ยไพ่ เพื่อทำการจั่วไพ่จากกอง โดยการเล่นจะเริ่มจากคนทำไพ่ (ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้าไม่มี ผู้เล่นแต่ละคนอาจจะทำหน้าที่แจกไพ่สลับกัน) จะทำการแจกไพ่ให้กับเจ้ามือ 12 ใบ ส่วนผู้เล่นคนอื่นจะได้รับไพ่ 11 ใบ ซึ่งในการแจกนั้นส่วนใหญ่จะเริ่มแจกไพ่ให้ผู้เล่นแต่ละคน 6 ใบจนครบและจะทำการแจกรอบสองซึ่งจะแจกให้เจ้ามือ 6 ใบ ส่วนผู้เล่นอื่นจะได้ไพ่อีกคนละ 5 ใบ

ใบบ่อนการพนันบางแห่งจะทำการ "คน" คือให้ผู้เล่นนำไพ่ที่ไม่เข้าพวกกับไพ่บนมือหรือไพ่ที่พวกเขาไม่พอใจ ลงมารวมกัน และคนทำไพ่จะทำการคนไพ่เหล่านั้นให้คละกัน ต่อมา ผู้เล่นแต่ละคนจะทำการเขี่ยไพ่คืนเท่ากับจำนวนที่ตนลงมา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้ไพ่ที่ดีกว่าเดิม

เมื่อทำการคนเสร็จแล้ว เจ้ามือจะต้องทำการตีไพ่ใบหนึ่งจากมือลงทางด้านขวามือของตน (ยกเว้นในกรณีที่ไพ่ทั้ง 12 ตัวบนมือของเจ้ามือครบถ้วนและสามารถตีลงมา "กิน" ได้ทันที) ผู้เล่นคนต่อมาสามารถเลือกที่จะเก็บไพ่ที่เจ้ามือตีลงมาหากไพ่นั้นเข้าชุดกับไพ่บนมือของตน มิฉะนั้น ผู้เล่นคนนั้นจะทำการ "จั่ว" โดยใช้ไม้เขี่ยไพ่ทำการเขี่ยไพ่ใบแรกสุดของกองที่เหลือจากการแจก และหากไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผู้เล่นคนนั้นจะต้องตีไพ่หนึ่งใบลงทางขวามือของตน และกระทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนมีผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง "กิน" ไพ่

ในการจั่วไพ่นั้น หากไพ่ที่จั่วมานั้น ตรงกับไพ่รูปเดียวกันสองใบในมือผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ผู้เล่นคนนั้นสามารถ "ผ่อง" ไพ่ใบนั้นไปเข้าชุดกับไพ่บนมือของตน โดยไพ่ที่ผ่องเมื่อรวมกับไพ่บนมือจะเรียกว่า "ตอง" และผู้เล่นที่ทำการผ่องไพ่จะต้องวางไพ่บนมือลงมารวมกับไพ่ที่ผ่อง และตีไพ่บนมือทิ้งไปหนึ่งใบ

ผู้เล่นถัดจากผู้ที่ผ่องไพ่อาจจะเก็บไพ่ที่ตีหรือทำการจั่วไพ่ใหม่ก็ได้

[แก้] การเล่นในแต่ละรอบ

การเล่นในแต่ละรอบจะจบลงเมื่อมีการกินเกิดขึ้น โดยการกินไพ่นั้นแบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้ 1. กินช่อง (1-3 ตอง) โดยผู้เล่นจะต้องมีไพ่บนมือหรือไพ่ที่ผ่องมาแล้ว รวมกัน 3 ชุด และถือไพ่ไว้ 1 คู่ เมื่อใดก็ตามที่มีการจั่วไพ่เหมือนกับไพ่คู่บนมือ ผู้เล่นสามารถตีลงมากินได้ เช่น

(บนมือ 8 ใบ) สี่นม สี่นม สี่มะเขือ สององคต สองตา สองคน เอี่ยวพญา เอี่ยวพญา (ผ่อง 3 ใบ) เอี่ยวเกือก เอี่ยวเกือก เอี่ยวเกือก

เมื่อใดก็ตามที่มีผู้เล่นจั่วเอี่ยวพญาจากกอง ผู้เล่นคนนี้สามารถจะตีไพ่ลงมา "กิน 2 ตอง" ได้

2. กินถก (ถลก) เหมือนกับข้อ 1. เพียงแต่ว่า ผู้ที่จั่วเอี่ยวพญา นั้นคือตัวผู้เล่นที่ถือคู่เอี่ยวพญาเอง ในกรณีนี้จะได้เงินมากกว่ากรณีแรก แล้วแต่ข้อตกลงกัน

3. กินสี่ตัว ผู้เล่นมีไพ่ครบแล้ว 2 ชุด และถือไพ่หน้าหนึ่งไว้ 3 ตัวบวกกับไพ่ที่มีหัวเดียวกันอีก 2 ตัว หากมีการจั่วไพ่ตัวที่ 4 จากกอง ผู้เล่นสามารถตีลงมากินสี่ตัว เช่น

(บนมือ 8 ใบ) ห้าคณฑ์ ห้าคณฑ์ ห้าคณฑ์ ห้านก ห้าแตงโม แปดละเอียด แปดละเอียด แปดตาโต (ผ่อง 6 ใบ) สามนก สามนก สามนก

เมื่อใดก็ตามที่มีผู้เล่นจั่วห้าคณฑ์จากกอง ผู้เล่นคนนี้สามารถจะตีไพ่ลงมา "กิน 4 ตัว" ได้

4. กินถกสี่ตัว เหมือนกับข้อ 3. เพียงแต่ว่า ผู้ที่จั่วห้าคณฑ์ นั้นคือตัวผู้เล่นที่ถือตองห้าคณฑ์เอง ในกรณีนี้จะถือว่าเป็นการ "กินล้ม" ซึ่งจะได้เงินเท่ากับการกินเศียร หรือกินสี่ตอง

5. กินเศียร โดยผู้เล่นจะต้องถือไพ่ 3 ชุดบนมือซึ่งมีหน้าไม่เหมือนกัน และถือไพ่อีกชุดหนึ่งซึ่งมีหน้าไม่เหมือนกัน หากมีการจั่วไพ่ที่ทำให้ไพ่บนมือครบชุด 3 หน้า ผู้เล่นนั้นถือว่ากินเศียร เช่น

(บนมือ 11 ใบ) สามคณฑ์ สามตาโต สามนก สี่คณฑ์ สี่มะเขือ สี่นม แปดคณฑ์ แปดตาโต แปดละเอียด เอี่ยวนาง เอี่ยวหนู

เมื่อใดก็ตามที่มีผู้เล่นจั่วเอี่ยวพญาจากกอง ผู้เล่นคนนี้สามารถจะตีไพ่ลงมา "กินเศียร" ได้

การกินเศียรถือว่าเป็นการกินล้ม เช่นเดียวกับการกินสี่ตองหรือการถกสี่ตัว โดยจะได้เงินมากกว่าการกินช่องปกติ

6. กินถกเศียร เหมือนกับข้อ 5. เพียงแต่ว่าผู้ที่จั่วเอี่ยวพญานั้นคือตัวผู้เล่นที่ต้องการเอี่ยวพญาไปรวมกับเอี่ยวนางและเอี่ยวหนูเอง ซึ่งจะได้เงินมากกว่าการกินเศียรธรรมดา

7. กินสี่ตอง ผู้เล่นจะต้องมีไพ่ครบอยู่บนมือหรือที่ผ่องมาแล้วรวม 3 ตองและมีไพ่อีก 1 คู่บนมือ หากมีการจั่วไพ่ที่เหมือนกับไพ่บนมือจากกอง ผู้เล่นคนนั้นถือว่ากินสี่ตอง เช่น

(บนมือ 5 ใบ)สองคณฑ์ สองคณฑ์ สองคณฑ์ สี่นม สี่นม (ผ่อง 6 ใบ) สี่มะเขือ สี่มะเขือ สี่มะเขือ เก้าแดง เก้าแดง เก้าแดง

เมื่อใดก็ตามที่มีผู้เล่นจั่วสี่นมจากกอง ผู้เล่นคนนี้สามารถจะตีไพ่ลงมา "กิน 4 ตอง" ได้

8. กินถกสี่ตอง เหมือนกับข้อ 7. เพียงแต่ผู้ที่จั่วสี่นมคือผู้ที่มีคู่สี่นมบนมือพร้อมไพ่อื่นๆ อีก 3 ตอง ในกรณีนี้จะได้เงินมากกว่าการกินสี่ตองธรรมดา

9. กินเก็ง ผู้เล่นแต่ละคนจะมีกล่องเล็กๆ อยู่ในตะกร้าของตน โดยในกล่องนั้นจะใส่ไพ่ที่ตัดเอาไว้ 1 ตัว (ยกเว้นไพ่ประเภทเอี่ยว) ซึ่งเป็นไพ่สำรับอื่นที่ไม่เกี่ยวกับไพ่ที่ใช้เล่นแต่ประการใด ส่วนใหญ่จะทำการตัดครึ่งใส่ตะกร้าใหญ่ๆ ไว้ ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าอยากเก็งตัวอะไร และหากผู้เล่นสามารถกินไพ่ได้เหมือนกับไพ่ในกล่องนั้น ถือว่ากินเก็ง ซึ่งถือว่าเป็นการกินล้มประเภทหนึ่ง เช่น

(บนมือ 8 ใบ) สองตา สองตา สองคณฑ์ สี่นม สี่นม สี่คณฑ์ ห้านก ห้านก (ผ่อง 3 ใบ) เอี่ยวชี เอี่ยวชี เอี่ยวชี (ในกล่องเก็ง - ห้านก)

เมื่อใดก็ตามที่มีผู้เล่นจั่วห้านกจากกอง ผู้เล่นคนนี้สามารถจะตีไพ่ลงมา "กินเก็ง" ได้

10. กินถกเก็ง เหมือนกับข้อ 9. เพียงแต่ผู้ที่จั่วห้านกคือผู้ที่มีคู่ห้านกและเก็งห้านกไว้ในกล่อง ในกรณีนี้จะได้เงินมากกว่าการกินเก็งธรรมดา

11. กินสี่ตองเก็ง เศียรเก็ง เหมือนกับข้อ 5. และ ข้อ 7. เพียงแต่ไพ่ที่จั่วขึ้นมาและผู้เล่นตีลงไปกินนั้นเหมือนกับไพ่ในกล่องเก็ง ในกรณีนี้ถือว่าเป็นการกินล้มใหญ่ที่จะได้เงินมากกว่าการกินสี่ตองหรือกินเศียรธรรมดาถึงสองเท่า และหากผู้เล่นถกไพ่ใบนั้นขึ้นมาเอง อาจจะได้เงินเพิ่มขึ้นอีกแล้วแต่ตกลงกัน

12. กินถกสี่ตัวเก็ง เหมือนกับข้อ 4. เพียงแต่ไพ่ตัวที่ถกเข้าตองบนมือนั้นเป็นไพ่ที่ผู้เล่นเก็งเอาไว้ในกล่องเก็งของตน โดยศักดิ์ของการถกสี่ตัวเก็งจะเท่ากับการกินเศียรเก็ง หรือสี่ตองเก็ง

13. กินสี่ตองมืด ผู้เล่นจะต้องรวบรวมไพ่บนมือให้ครบสามตอง โดยที่ไม่ได้ทำการผ่องจากผู้เล่นคนอื่น และมีไพ่อีกหนึ่งคู่บนมือ หากมีการจั่วไพ่ที่เหมือนกับไพ่คู่นั้นจากกอง ผู้เล่นสามารถตีลงมากินสี่ตองมืดได้ โดยการกินสี่ตองมืดถือว่าเป็นการกินล้มใหญ่อีกประเภทหนึ่ง และผู้ที่สามารถกินสี่ตองมืดได้จะได้เงินมากกว่าการกินสี่ตองปกติถึง 2-3 เท่าแล้วแต่ตกลงกัน เช่น

(บนมือ 8 ใบ) เอี่ยวเกือก เอี่ยวเกือก เอี่ยวเกือก เก้าจัน เก้าจัน เก้าจัน แปดตาโต แปดตาโต แปดตาโต สี่นม สี่นม

เมื่อใดก็ตามที่มีผู้เล่นจั่วสี่นมจากกอง ผู้เล่นคนนี้สามารถจะตีไพ่ลงมา "กิน 4 ตองมืด" ได้

14. กินสี่ตองมืดเก็ง ผู้เล่นจะต้องรวบรวมไพ่บนมือให้ครบสามตอง โดยที่ไม่ได้ทำการผ่องจากผู้เล่นคนอื่น และมีไพ่อีกหนึ่งคู่บนมือซึ่งเป็นไพ่ตัวเก็งคือมีหน้าเดียวกับไพ่ในกล่องเก็งของตน หากมีการจั่วไพ่ที่เหมือนกับไพ่คู่นั้นจากกอง ผู้เล่นสามารถตีลงมากินสี่ตองมืดได้ โดยการกินสี่ตองมืดถือว่าเป็นการกินล้มใหญ่อีกประเภทหนึ่ง และผู้ที่สามารถกินสี่ตองมืดได้จะได้เงินมากกว่าการกินสี่ตองปกติถึง 3-4 เท่าแล้วแต่ตกลงกัน เช่น

(บนมือ 8 ใบ) เอี่ยวเกือก เอี่ยวเกือก เอี่ยวเกือก เก้าจัน เก้าจัน เก้าจัน แปดตาโต แปดตาโต แปดตาโต สี่นม สี่นม (ในกล่องเก็ง - สี่นม)

เมื่อใดก็ตามที่มีผู้เล่นจั่วสี่นมจากกอง ผู้เล่นคนนี้สามารถจะตีไพ่ลงมา "กิน 4 ตองมืดเก็ง" ได้

และถ้าผู้เล่นคนนั้นถกสี่นมขึ้นมาเอง ผู้เล่นคนนั้นจะได้เงินเพิ่มอีกตามแต่ตกลงกัน

15. กินล้มเอี่ยว เนื่องจากเอี่ยวเป็นไพ่ประเภทเดียวที่มี 2 ชุดคือเอี่ยวเล็กและเอี่ยวใหญ่ ซึ่งเอี่ยวทั้งสองประเภทไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่สามารถเอามา รวมเป็นชุดเดียวกันได้ เช่น เอี่ยวพญา เอี่ยวเกือก เอี่ยวยาว ถือว่าเป็นชุดหนึ่ง ดังนั้นผู้เล่นส่วนใหญ่จึงนิยมเก็บเอี่ยวไว้บนมือเพราะสามารถรวมชุดได้งายกว่าไพ่ประเภทอื่น และหากผู้เล่นใดสามารถรวบรวมเอี่ยวทั้งบนมือและที่ผ่องมาได้ครบ 11 ใบ หากมีการจั่วเอี่ยวใดๆ ก็ตามจากกองผู้เล่นสามารถตีลงมากินล้มเอี่ยวได้ เช่น

(บนมือ 8 ใบ) เอี่ยวเกือก เอี่ยวเกือก เอี่ยวเกือก เอี่ยวยาว เอี่ยวยาว เอี่ยวนาง เอี่ยวหนู เอี่ยวพญา (ผ่อง 3 ใบ) เอี่ยวชี เอี่ยวชี เอี่ยวชี

เมื่อใดก็ตามที่มีผู้เล่นจั่วเอี่ยวจากกอง ผู้เล่นคนนี้สามารถจะตีไพ่ลงมา "กินล้มเอี่ยว" ได้

16. กินเขียวหวาน ในบางบ่อน จะมีการกำหนดการกินเขียวหวานขึ้นเพื่อความง่ายในการกินล้มของผู้เล่น โดยผู้เล่นที่สามารถรวบรวมไพ่ครบ 3 เศียร แต่มีไพ่อีกคู่บนมือ หากไพ่ตัวที่เหมือนคู่นั้นถูกจั่วจากกอง ก็ถือว่าเป็นการกินเขียวหวาน ซึ่งเป็นการกินล้มประเภทหนึ่ง เช่น

(บนมือ 8 ใบ) เอี่ยวชี เอี่ยวเกือก เอี่ยวยาว สองคณฑ์ สองตาโต สององค๖ สามคณฑ์ สามตาโต สามนก สี่คณฑ์ สี่คณฑ์

เมื่อใดก็ตามที่มีผู้เล่นจั่วสี่คณฑ์จากกอง ผู้เล่นคนนี้สามารถจะตีไพ่ลงมา "กินเขียวหวาน" ได้

หรือผู้เล่นที่มีไพ่ 3 ตองแต่มีไพ่อีกชุดหนึ่งบนมือ หากไพ่ที่ตัวที่เหลือที่ไม่เหมือนกับไพ่หน้านั้นถูกจั่วจากกอง ก็ถือว่าเป็นการกินเขียวหวานเช่นกัน เช่น

(บนมือ 8 ใบ) เอี่ยวชี เอี่ยวชี เอี่ยวชี สองคณฑ์ สองคณฑ์ สองคณฑ์ สองตาโต สองตาโต สองตาโต สี่มะเขือ สี่นม

เมื่อใดก็ตามที่มีผู้เล่นจั่วสี่คณฑ์จากกอง ผู้เล่นคนนี้สามารถจะตีไพ่ลงมา "กินเขียวหวาน" ได้

การกินเขียวหวานนี้อาจจะมีการ ถกเขียวหวาน หรือ การกินเขียวหวานเก็ง ซึ่งเหมือนกับกรณีการกินเศียรหรือกินสี่ตองได้เช่นกัน

ในบางครั้งเมื่อจั่วไพ่ใบหนึ่งขึ้นมา อาจจะมีผู้เล่นมากกว่าหนึ่งคนที่สามารถตีกินไพ่ใบนั้นได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ผู้ที่สามารถกินไพ่ศักดิ์ศูงกว่าจะเป็นผู้ชนะ เช่น

ไพ่ที่จั่วจากกอง - สี่มะเขือ

ผู้เล่น 1 บนมือ+ผ่อง สามคณฑ์ สามคณฑ์ สามคณฑ์ สี่นม สี่นม สี่คณฑ์ สี่มะเขือ สี่มะเขือ เอี่ยวพญา เอี่ยวนาง เอี่ยวชี (คั่ว 2 ตอง)

ผู้เล่น 2 บนมือ+ผ่อง เจ็ดคณฑ์ เจ็ดพัด เจ็ดนก แปดคณฑ์ แปดตาโต แปดละเอียด เก้าคณฑ์ เก้าจัน เก้าแดง สี่คณฑ์ สี่นม (คั่วเศียร)

ในกรณีนี้ผู้เล่น 2 จะเป็นผู้ชนะ เพราะการกินเศียรนั้นได้เงินมากกว่าการกิน 2 ตอง

แต่ถ้าเป็นกรณีที่เป็นการกินไพ่ที่ศักดิ์เท่ากัน จะถือว่าผู้ที่อยู่เหนือมือเป็นผู้ชนะ เช่นหากผู้เล่น 1 เก็งสี่มะเขือไว้ และอยู่เหนือ (นับจากทางขวามือ) ผู้เล่น 2 ผู้เล่น 1 จะเป็นผู้ชนะ เพราะการกินเก็งและกินเศียรถือว่าเป็นการกินล้มเหมือนกันและราคาเท่ากัน แต่ผู้เล่น 1 อยู่เหนือมือผู้เล่น 2 ดังนั้นผู้เล่นหนึ่งจะเป็นผู้ชนะ

และหากมีการกินไพ่เกิดขึ้น คนทำไพ่จะทำการเปิดไพ่ที่เหลือในกองให้ผู้เล่นทั้งหมดได้ดู เพื่อทำการเช็คว่ามีไพ่ใดขาดไปหรือไม่ บางครั้งอาจจะมีการบ่นในวงว่ามีการ "ทับหลัง" เกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่า ไพ่ใบต่อจากที่มีการกินนั้น เป็นไพ่ที่ผู้เล่นคนที่บ่นออกมาต้องการและสามารถตีลงมากินได้ และเมื่อทำการจ่ายเงินกันเรียบร้อยแล้ว คนทำไพ่หรือผู้เล่นจะทำการแจกไพ่ใหม่อีกครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นไพ่ที่จัดแจกไว้แล้ว เนื่องจากการเล่นไพ่ผ่องไทยนั้นจะมีไพ่รวมทั้งสิ้น 2 สำหรับ (หลังสีเขียวและสีส้ม) ในระหว่างที่ทำการเล่นไพ่สำรับหนึ่ง คนทำไพ่จะทำไพ่อีกสำรับหนึ่งเตรียมเอาไว้แล้ว

การเล่นไพ่ผ่องไทยในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทยมีความแตกต่างกัน

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ10 ตุลาคม 2553 เวลา 21:44

    www.bonus878.com คาสิโนออนไลน์ บาคาร่า ฟุตบอล

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ12 ตุลาคม 2553 เวลา 02:11

    www.dig888.com บริการ24ชั่วโมงไม่จำกัดจำนวนครั้ง

    ตอบลบ
  3. www.dig888.comผู้ประกอบธุรกิจ นำเข้า ส่งออกสินค้า และมีสำนักงานอยู่ ณ ซอยรามคำแหง 30 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม. มีความประสงค์ผ่านเข้า – ออกในเขต CFZ

    ตอบลบ
  4. ทำยังไงถึงจะได้เล่นค่ะ...อยากเล่นไพ่ผ่อง

    ตอบลบ